พฤษภาคม 18, 2023
คัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยแมมโมแกรมดิจิตอล 3 มิติ ตรวจพร้อมเจาะชิ้นเนื้อได้ทันที

ยังคงครองสถิติการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทยติดต่อกันหลายปี สำหรับโรคมะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) ร่วมกับอัลตราซาวดน์เต้านมด้วยเครื่องที่มีความคมชัดสูง จึงมีความสำคัญ ทำให้พบเจอโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และมีโอกาสรักษาหายขาด
แพทย์หญิงพรพรหม ตั้งคติขจรกิจ รังสีแพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยขั้นสูงด้านเต้านมและรังสีร่วมรักษาของเต้านม โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่เป็นมาตรฐาน มีดังนี้
- การคลำเต้านมด้วยตัวเอง เดือนละ 1 ครั้ง หลังจากประจำเดือนมาวันแรก 5-10 วัน
- การทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ คัดกรองมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป
สำหรับการทำแมมโมแกรม
เป็นการตรวจที่ช่วยทำให้เห็นหินปูนที่มีความผิดปกติในเนื้อเต้านมได้ ขนาดเล็กถึงระดับมิลลิเมตร ซึ่งไม่สามารถเจอได้จากการคลำหรืออัลตราซาวดน์ ดังนั้นการทำแมมโมแกรมจะมีประโยชน์ในการเห็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก และลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้มากถึง 30 %
ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมให้เป็นแบบ 3 มิติ (Digital breast tomosynthesis) ใช้เวลาถ่ายภาพเอกซเรย์เพียง 3.7 วินาทีต่อท่า และสามารถแยกก้อนเนื้อออกมาจากการทับซ้อนกันของเนื้อเต้านมได้ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีเนื้อเต้านมที่แน่น (dense breast) ส่งผลให้เห็นก้อนเนื้อหรือหินปูนที่ผิดปกติได้ชัดเจนขึ้นและยังได้ภาพที่ละเอียดมากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถพบมะเร็งเต้านมได้ดีกว่าเครื่องแมมโมแกรม 2 มิติ
ส่วนการทำอัลตราซาวดน์ จะทำให้เห็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำในเต้านมได้ หากพบว่ามีก้อนเนื้อจะสามารถบอกขนาดและขอบเขตของก้อนเนื้อได้ว่าเรียบร้อยดี หรือค่อนไปทางมะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยได้ละเอียดและแม่นยำยิ่งขึ้น
หากพบว่ามีความผิดปกติในเต้านม สามารถเจาะชื้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยได้ทันที โดยการฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบ มีแผลขนาดเล็กเท่ากับเข็ม เจ็บตัวน้อย และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล การเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็ม (Core Needle biopsy) ในเต้านมสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. Ultrasound-guided core needle biopsy
คือ การเจาะโดยสอดเข็มผ่านผิวหนัง เพื่อไปยังก้อนที่เต้านม โดยแพทย์มองเห็นเข็มและก้อนเนื้ออย่างชัดเจน ผ่านทางจอภาพอัลตราซาวดน์ ทำให้มั่นใจได้ว่าเจาะตรงตำแหน่งก้อนที่ต้องการ
2. Stereotactic-guided vacuum-assisted core needle biopsy
คือ การเจาะความผิดปกติที่เห็น ได้จากแมมโมแกรม เช่น หินปูนขนาดเล็ก โดยใช้คอมพิวเตอร์กำหนดพิกัดแบบ 3 มิติ ทำให้ได้พิกัดที่แม่นยำสูง และใช้เครื่องมือเจาะดูดชิ้นเนื้อแบบสุญญากาศ
การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมนั้น ถ้ารู้ไว ก็สามารถรักษาได้ไว การตรวจเต้านมที่ โรงพยาบาลเวชธานีนั้น สามารถรู้ผลตรวจได้ภายในวันที่ทำการตรวจ สามารถเจาะชิ้นเนื้อได้ทันที ทำให้สะดวก และลดความกังวลใจของคนไข้ได้
“มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย ยังไม่มีวิธีการป้องกันเหมือนมะเร็งบางชนิด ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ” แพทย์หญิงพรพรหม รังสีแพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยขั้นสูงด้านเต้านมและรังสีร่วมรักษาของเต้านม กล่าว
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2715 , 2716
มีนาคม 22, 2023
มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต
มกราคม 16, 2023
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?
Hi! How can we help you?
Hi! How can we help you?