ต้นเหตุมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ เกิดจากตับอักเสบเรื้อรัง เป็นเวลานาน จนกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับตามลำดับ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ ที่พบบ่อยในประเทศไทย มีดังนี้

  1. ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ตับอักเสบในระยะยาว และกลายเป็นมะเร็งตับได้
  2. ภาวะไขมันพอกตับ หรือไขมันสะสมในตับ ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยไขมันพอกตับมักพบปัญหาตับอักเสบ ทำให้มีความเสี่ยงของตับแข็งและมะเร็งตับตามมา
  3. การดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง
  4. ภาวะอ้วน
  5. การรับประทานยาที่มีผลต่อตับ

ทั้งนี้ ไวรัสตับอักเสบบีสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งเมื่อได้รับวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ส่วนใหญ่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้มากถึงร้อยละ 97 และสามารถป้องกันป้องกันการติดเชื้อได้นานตลอดชีวิต

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
โทร 0-2734-0000 ต่อ 2960

Related Posts

มกราคม 16, 2023

ภัยเงียบมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่ที่เป็นระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการผิดปกติชัดเจน ส่วนอาการที่สามารถพบได้และเข้าข่ายน่าสงสัย เช่น ปวดจุกแน่นท้อง รับประทานอาหารแล้วอิ่มเร็ว อ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากมีอาการตัว ตาเหลือง ท้องมานร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักจะเป็นมากแล้ว

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

มีนาคม 22, 2023

มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต

“มะเร็งระยะแพร่กระจาย” เป็นคำที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบตัว เพราะอาจคิดว่าหมดหนทางในการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ช่องท้อง

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : (+66)8-522 38888