ปวดเต้านม สัญญาณเตือนความผิดปกติ

อาการปวดเต้านมของผู้หญิง เป็นหนึ่งในอาการเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดอาการขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ โดยอาการปวดเต้านม สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้

  1. อาการปวดที่สัมพันธ์กับประจำเดือน (Cyclical breast pain) เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วไป เกิดเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยมักมีอาการเกิดขึ้นช่วงไข่ตกจนถึงช่วงที่เริ่มมีประจำเดือน อาจปวดทั่ว ๆ ข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง และอาจมีปวดร้าวมาที่รักแร้ได้
  2. อาการปวดที่ไม่สัมพันธ์กับประจำเดือน (Noncyclical breast pain) อาการมักปวดตลอดเวลา หรือมีตำแหน่งที่ปวดเป็นพิเศษ สาเหตุอาจเกิดจาก
    • ความผิดปกติของเต้านมเอง เช่น มะเร็งเต้านม, มีก้อนเนื้องอกที่เต้านม, เป็นโรคถุงน้ำของเต้านม, เกิดอุบัติเหตุกระแทกที่เต้านม, เต้านมอักเสบ, ฝีในเต้านม, อาการที่เกี่ยวข้องกับการให้นมบุตร, ผลข้างเคียงจากการเสริมเต้านม และอื่น ๆ
    • ความผิดปกติจากสาเหตุภายนอกเต้านม เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหน้าอก, ข้อต่อกระดูกชายโครงอักเสบ, อุบัติเหตุที่ทรวงอกและกระดูกซี่โครง

การตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง ควรทำอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วง 7 วันหลังมีประจำเดือน นอกจากนี้ควรส่องกระจกเพื่อดูผิวหนังที่เต้านมว่ามีรอยบุ๋มลงไปหรือไม่, รูปร่างเต้านมผิดปกติหรือไม่, หัวนมมีแผล เลือด น้ำเหลือง หรือน้ำนมออกจากหัวนมหรือไม่ หากพบความผิดปกติ หรือมีอาการปวดผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีแมมโมแกรมดิจิตอล 3 มิติ ร่วมกับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การทำอัลตราซาวดน์ เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลเวชธานี โทร. 02-734-0000 ต่อ 2715, 2716

Related Posts

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

มีนาคม 22, 2023

มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต

“มะเร็งระยะแพร่กระจาย” เป็นคำที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบตัว เพราะอาจคิดว่าหมดหนทางในการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ช่องท้อง

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000