ธันวาคม 19, 2023
รักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการให้ยาเคมีบำบัดแบบ Easy Pump
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ถือเป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมด โดยในระยะแรกของโรคมักไม่มีอาการแสดงผิดปกติใด ๆ แต่อาจมีอาการคล้ายโรคอื่น ๆ เช่น อาการท้องอืด จุก แน่นท้อง
ทำให้หลายคนอาจละเลยและคิดว่าเป็นเพียงอาการของโรคกระเพาะเท่านั้น ซึ่งโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แตกต่างกันไป ได้แก่
- การติดเชื้อแบคทีเรียเอช ไพโลไร (H. Pylori) ซึ่งมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ของหมักดอง ผักสด น้ำดื่มที่ไม่สะอาด หรือหรือรับประทานอาหารร่วมกับผู้ติดเชื้อแบคทีเรียเอช ไพโลไร โดยการติดเชื้อนี้เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือมะเร็งต่มอน้ำเหลืองของกระเพาะอาหารชนิดไม่รุนแรง
- การอักเสบของกระเพาะอาหารเรื้อรัง โดยการกินอาหารบางประเภทอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ เช่น อาหารปิ้งย่าง
- เกิดความผิดปกติของเซลล์กระเพาะอาหารเอง ซึ่งไม่มีสาเหตุกระตุ้นอย่างชัดเจน มักทำให้เกิดมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด และให้ยาเคมีบำบัด
ปัจจุบัน ในการให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งในบางกรณี สามารถให้ยาเคมีบำบัดแบบ Easy Pump หรือการบริหารยาเคมีบำบัดผ่านปั๊มขนาดเล็กได้ ซึ่งถูกออกแบบสำหรับคนไข้ที่ไม่อยากนอนโรงพยาบาล เช่น ผู้สูงอายุที่อยากอยู่บ้านกับลูกหลาน นักธุรกิจที่ต้องทำงาน และกลุ่มที่มีความเสี่ยงเส้นเลือดเปราะแตกง่าย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์มะเร็ง
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2720
พฤษภาคม 18, 2023
เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป
อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว
มีนาคม 22, 2023
มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต
“มะเร็งระยะแพร่กระจาย” เป็นคำที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบตัว เพราะอาจคิดว่าหมดหนทางในการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ช่องท้อง
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?