พฤษภาคม 18, 2023
“เนื้อแดง – เนื้อแปรรูป” ไม่ว่าเมนูไหน ก็เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

ใครจะรู้ว่าอาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน จะแฝงไปด้วยปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะอาหารแปรรูปที่ผ่านการหมัก รมควัน หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เพิ่มรสชาติหรือถนอมอาหาร เช่น เบคอน ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น หมูยอ และกุนเชียง เป็นต้น โดยอาหารเหล่านี้มีสารเคมี ไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการสะสมในร่างกายจะทำปฏิกิริยากับปัจจัยอื่นในร่างกาย เช่นการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร หรือสารอื่นที่ร่างกายได้รับผ่านทางอาหาร ส่งผลให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
ในปัจจุบันร้านอาหารแนวบุฟเฟต์ กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะแนวปิ้งย่างและชาบู แต่รู้หรือไม่ การรับประทานเนื้อแดงไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ หรือเนื้อแพะ ที่ถูกประกอบอาหารในความร้อนสูงจนเกรียมแบบปิ้งย่าง หรือถูกประกอบอาหารในความร้อนสูงแบบต้ม ก็มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ เนื่องจากการนำเนื้อแดงไปประกอบอาหารในความร้อนสูง จะทำให้เกิดสารสารโพลีไซคลิกอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH) และสารเฮเทอโรไซคลิกอโรมาติกเอมีน (HAA) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
เป็นที่น่าสนใจว่าความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น เพิ่มขึ้นตามปริมาณเนื้อแดงที่รับประทาน โดยพบว่าการรับประทานเนื้อแดงปริมาณ 100 กรัมต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น 17% และการรับประทานเนื้อแปรรูปปริมาณ 50 กรัมต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากถึง 18 %
เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าอาหารปิ้งย่างจะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้เพียงอย่างเดียว แต่การรับประทานเนื้อแดง หรือเนื้อแปรรูป ในวิธีประกอบอาหารอื่น ๆ ก็สามารถเป็นปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน
นายแพทย์สุกิจ ภัทรเจียรพันธุ์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลเวชธานี แนะนำว่า การรับประทานเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปในปริมาณที่เหมาะสมประมาณ 50-100 กรัมต่อวัน พยายามรับประทานโปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น ไข่ เต้าหู้ และถั่ว ทดแทนเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป และให้เพิ่มการรับประทานผักผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป เป็นพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนกันค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตประจำวันที่เคยชิน เพราะฉะนั้นคนที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เสี่ยง หรือคนที่มาอายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อหาความผิดปกติในลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยเฉพาะติ่งเนื้อที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในอนาคต โดยเทคโนโลยีการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในปัจจุบัน สามารถตรวจพบติ่งเนื้อได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้ว่าติ่งเนื้อนั้นจะมีขนาดเล็กเพียง 2 มิลลิเมตร หรือขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว และเมื่อมีการตรวจพบติ่งเนื้อจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์สามารถทำการตัดติ่งเนื้อออกได้ทันทีอย่างปลอดภัยด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ทั้งนี้ ในผู้ป่วยที่มีติ่งเนื้อที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปแล้วในระยะต้นบางคน ยังสามารถใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องในการรักษาได้ ซึ่งจะไม่มีแผลผ่าตัดภายนอก มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดใหญ่ และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อย ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการผ่าตัดส่องกล้องรักษานี้ต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2715, 2716
มีนาคม 22, 2023
มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต
มกราคม 16, 2023
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?
Hi! How can we help you?
Hi! How can we help you?