มกราคม 3, 2023
ใครบ้างมีความเสี่ยงต่อการเกิด โรค มะเร็งปอด?

เนื่องด้วยสภาวะปัจจุบันที่มีปัญหามลภาวะ ฝุ่น PM 2.5 มีการตรวจวัดปริมาณฝุ่นในอาการทำให้มีการตื่นตัวและตระหนักถึงปัญหาสภาพแวดล้อมกันมากขึ้น รวมไปถึงเกิดคำถามมากมายว่า ฝุ่น PM 2.5 นี้เสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งปอด หรือไม่รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของโรคชนิดนี้ ซึ่งวันนี้หมอจะมาพูดถึงปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่รู้เร็วมีโอกาสรักษาหายขาดได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด คือ
การสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่
การสูบบุหรี่ถือเป็นปัจจัยสำคัญหลักในการเกิดโรคมะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่นๆด้วน เช่น มะเร็งหู คอ จมูก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นต้นจากการที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก จึงมีคำแนะนำให้คนที่สูบบุหรี่ ที่อายุตั้งแต่ 55 ปี สูบวันละประมาณ 1 ซอง มานานกว่า 30 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอดโดยใช้การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำซึ่งจะมีความละเอียดมากกว่าเอกซเรย์ธรรมดา
การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง
เช่น โครเมียม แร่ใยหิน แร่เรดอน นิกเกิล เรดอน เป็นต้น
ประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด
ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งปอด จะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยตรงเหมือนมะเร็งบางชนิด มีการศึกษาหลายการศึกษาว่าหากมีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อยๆ สมาชิกในครอบครัวมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ประวัติโรคปอดเรื้อรังเดิม
เช่น โรคถุงลมปอดโป่งพองเรื้อรัง และภาวะผังผืดที่ปอด พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดสูงขึ้น
สภาวะแวดล้อม ฝุ่นละอองพิษ
มีการศึกษาหลายการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM 2.5มีความสัมพันธ์และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะมะเร็งปอด แต่ยังไม่ทราบว่า ขนาดและปริมาณการได้รับที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดนั้นอยู่ในปริมาณที่เท่าไหร่
พอเราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงเบื้องต้นของมะเร็งปอดแล้ว สิ่งที่เราสามารถทำได้ง่ายๆเพื่อลดความเสี่ยงก็คือ การเลิกบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และสภาวะแวดล้อม อากาศมลพิษ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไป
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2720
มกราคม 3, 2023
มะเร็งปอด รักษาได้ ดั่งแสงสว่างที่ปลายทาง
พฤศจิกายน 28, 2022
เบอร์โทรติดต่อ
Hi! How can we help you?
Hi! How can we help you?
Hi! How can we help you?