มะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้ก่อน ดูแลทัน ป้องกันได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้ก่อน ดูแลทัน ป้องกันได้

“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” เป็นมะเร็งที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเกิดขึ้นจากระบบน้ำเหลือง แต่ถึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะที่ 4 แล้ว ก็มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองคืออะไร?

ระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรค เชื้อไวรัส แบคทีเรีย แต่เมื่อเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะทำให้ตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองบวมโตแต่คลำแล้วไม่มีอาการเจ็บ โดยพบบ่อยที่บริเวณลำคอ รักแร้และขาหนีบ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อ HIV การรับประทานยากดภูมิคุ้มกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน การปลูกถ่ายอวัยวะ การติดเชื้อบางชนิด เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียแล้วส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบ รวมถึงสภาวะแวดล้อม เช่น การได้รับสารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน หรืออยู่ในบริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสี เป็นต้น

อาการและการวินิจฉัย

อาการในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก เหงื่อออกช่วงกลางคืน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คันทั่วร่างกาย นอกจากนี้ ต่อมน้ำเหลืองจะเริ่มโตขึ้น โดยเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดก็ได้ของระบบต่อมน้ำเหลือง เช่น ลำคอ รักแร้ ข้อพับ ช่องอก ช่องท้อง เป็นต้น 
เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ อาการและตรวจร่างกาย หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแพทย์จะตัดชิ้นเนื้อมาตรวจเพิ่มเติม

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถแบ่งเป็นโรคย่อยได้อีกกว่า 30 ชนิด แต่ละชนิดมีวิธีรักษาแตกต่างกันออกไป แต่การรักษาหลักคือการให้ยาเคมีบำบัด ในบางชนิดอาจใช้ร่วมกับยาทางภูมิคุ้มกันหรือการฉายแสง ส่วนบางชนิดอาจใช้วิธีปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาดจากโรค
อย่างไรก็ตาม หมั่นสังเกตร่างกายตัวเองเสมอ หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะการรักษามะเร็งในระยะต้นย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าในระยะลุกลาม

Related Posts

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

มีนาคม 22, 2023

มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต

“มะเร็งระยะแพร่กระจาย” เป็นคำที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบตัว เพราะอาจคิดว่าหมดหนทางในการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ช่องท้อง

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000