แปรงฟันมีเลือดออกอาจบ่งบอกโรคลูคีเมีย

ลูคีเมีย (Leukemia) คือมะเร็งระบบเลือด หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเติบโตมากผิดปกติและไม่สามารถกลายเป็นเม็ดเลือดที่สมบูรณ์ได้ จนไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่น ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อง่าย อ่อนเพลีย เลือดออกง่ายผิดปกติ เช่น เลือดออกขณะแปรงฟัน หรือเกิดจ้ำเลือดตามร่างกายมะเร็งระบบเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ชนิดไมอีลอยด์ (Myeloid)
  2. มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ชนิดลิมฟอยด์ (Lymphoid)

ซึ่งทั้ง 2 ชนิดสามารถเป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยสามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด หรือตรวจคัดกรองมะเร็งทางพันธุกรรมการรักษาโรคลูคีเมียขึ้นอยู่กับชนิดของโรค แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ

  1. การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งมีทั้งชนิดกิน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำและฉีดเข้าไขสันหลัง เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน แต่อาจส่งผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่น ๆ ของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยถ่ายเหลว เจ็บปาก โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำหรือเกล็ดเลือดต่ำ
  2. การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เจาะจงไปที่เซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนสสำหรับรักษาผู้ป่วยมะเร็งระบบเลือดชนิดมัยอีลอยด์แบบเรื้อรัง
  3. การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation) จะช่วยลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ โดยแพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง ญาติพี่น้องหรือจากผู้บริจาคที่เข้ากันได้มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี

โทร. 02-734-0000 ต่อ 2720 , 2721

Related Posts

พฤศจิกายน 16, 2022

มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคร้ายใกล้ตัวที่ควรรู้ไว้

ลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดจากการสร้างเม็ดเลือดที่จำนวนมากผิดปกติ แต่ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งต้นกำเนิดของโรคลูคีเมีย จะเกิดขึ้นภายในไขกระดูกซึ่งเป็นบริเวณที่มีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด เมื่อมีการสร้างมะเร็งเม็ดเลือดที่ผิดปกติจำนวนมาก จึงทำให้การสร้างเม็ดเลือดที่ทำหน้าที่ได้ปกติเกิดขึ้นไม่ได้ อาการต่างๆจึงเกิดจากการที่มีเม็ดเลือดต่างๆบกพร่องไป ได้แก่

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000