แยกให้ออก “COVID-19” หรือ “มะเร็งปอด”

ในช่วงนี้หลายคนมีความกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 วันนี้หมอจึงรวบรวมเอาอาการต่าง ๆ ของโรค รวมถึงอาการของโรคมะเร็งปอดซึ่งมีอาการใกล้เคียงกัน มาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างและคัดแยกโรคในเบื้องต้น

อาการ COVID-19

  • ไอแห้ง เจ็บคอ
  • มีไข้พบได้บ่อย
  • เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก
  • หายใจลำบาก หรือ หายใจถี่ อาการเป็นค่อนข้างเร็ว ในระยะเวลาเพียง 1 -2 สัปดาห์
  • อ่อนเพลีย
  • ตาแดง
  • ท้องเสีย
  • มีผื่นขึ้นบนผิวหนัง
  • จมูกไม่ได้กลิ่น – ลิ้นไม่รับรส
  • ปวดเมื่อยตามตัว

อาการมะเร็งปอด

  • ไอเรื้อรัง ไม่ค่อยเจ็บคอ อาจมีเสมหะ ไอเลือดออก
  • ไม่มีไข้ อาจมีไข้เมื่อมีอาการติดเชื้อร่วมด้วย
  • เจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอก
  • เหนื่อยเรื้อรัง หายใจลำบากและค่อยๆมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาจมีกลืนลำบาก (เนื่องจากก้อนมะเร็งเบียดหลอดอาหาร)
  • อาจมีอาการบวมที่ใบหน้า แขน คอ และทรวงอก (เนื่องจากมีเลือดดำคั่ง)

จะสังเกตได้ว่า จุดแยกที่สำคัญระหว่าง COVID-19 กับมะเร็งปอดคือ ระยะเวลาที่มีอาการ COVID-19 มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นเร็วใน 1-2 สัปดาห์ ส่วนมะเร็งปอดอาการจะค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลา สัปดาห์ จนถึงหลักเดือน

ทั้งนี้อาการเหล่าอาจไม่สามารถระบุโรคได้แน่ชัด เนื่องจากยังมีอีกหลายโรคที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ ฉะนั้นหากมีอาการเหล่านี้ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว ซึ่งหากมีอาการที่เข้าข่ายโรคมะเร็งปอด แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยเริ่มจากการตรวจร่างกาย ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ปอด และหากพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเช่น การตรวจชิ้นเนื้อ การทำ CT scan หรือ MRI เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็ง โทร. 02-734-0000 ต่อ 2720

Related Posts

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

มีนาคม 22, 2023

มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต

“มะเร็งระยะแพร่กระจาย” เป็นคำที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบตัว เพราะอาจคิดว่าหมดหนทางในการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ช่องท้อง

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000