5 ประเภทอาหารตัวการก่อมะเร็ง “มะเร็ง”

รู้หรือไม่..? “อาหาร” ที่รับประทานกันอยู่ทุกวันนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ แล้ว..อาหารชนิดใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง ?  มีดังนี้

  • เนื้อแดงที่ปรุงด้วยความร้อนสูง: การรับประทานเนื้อแดงไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ หรือเนื้อแพะ ที่ถูกปรุงในความร้อนสูงจนเกรียมแบบปิ้งย่าง หรือปรุงในความร้อนสูงแบบต้ม จะก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งที่มีชื่อว่าHCA (Heterocyclic Amine)
  • อาหารแปรรูป: ผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น  เบคอน ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น หมูยอ และกุนเชียงมักจะมี ไนโตรซามีน และ โปตัสเซียมไนเตรต เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารก่อมะเร็ง
  • อาหารแห้ง: เมล็ดธัญพืช พริกแห้ง กระเทียม หัวหอม ข้าวโพดแห้ง หรือขนมปัง ที่ถูกเก็บไว้นานเกินไปในอากาศร้อนชื้น อาจเกิดเชื้อราที่ผลิตสาร อฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งหากสะสมมากๆ อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับ
  • อาหารดิบ: การรับประทานอาหารประเภท ลาบก้อย ปลาน้ำจืดดิบ อาจมีพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งท่อน้ำดี
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งในช่องปาก มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งอื่นๆอีกหลายชนิด

อย่างไรก็ตาม มีอาหารอีกหลายประเภทที่อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเร็งได้ จึงแนะนำให้รับประทานอาหารที่หลากหลาย และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทราบว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งเหล่านี้ดังที่แนะนำในข้างต้น และควรออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงอยู่เสมอ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็ง โทร. 02-734-0000 ต่อ 4500, 4501

Related Posts

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

มีนาคม 22, 2023

มะเร็งระยะแพร่กระจายในช่องท้อง รักษาได้ด้วย CRS ร่วมกับ HIPEC ประสิทธิภาพสูง เพิ่มอัตราการรอดชีวิต

“มะเร็งระยะแพร่กระจาย” เป็นคำที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบตัว เพราะอาจคิดว่าหมดหนทางในการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันหากมะเร็งระยะแพร่กระจายไปสู่ช่องท้อง

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000