เราควร คัดกรองมะเร็ง ชนิดใดบ้าง?

ปัจจุบันมีคำถามมากมายว่าเราควร คัดกรองมะเร็ง ชนิดใดบ้าง ซึ่งการคัดกรองมะเร็งมีประโยชน์และสำคัญมาก เนื่องจากจะทำให้มีโอกาสตรวจพบมะเร็งที่สำคัญตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งสามารถรักษารักษาโรคมะเร็งให้หายขาดได้ นั่นเองครับ

โดยการคัดกรองมะเร็งที่จำเป็น และแนะนำ มีดังต่อไปนี้

  1. มะเร็งเต้านม แนะนำ ในผู้หญิงที่อายุ  40 ปีขึ้นไป โดยการคัดกรองคือการทำ แมมโมแกรม (mammogram)
  2. มะเร็งปอด แนะนำ ในคนอายุมากกว่า 55 ปี ที่สูบบุหรี่วันละประมาณ 1 ซอง มาเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี  หยุดสูบบุหรี่ไม่เกิน 15 ปี โดยการคัดกรองคือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดรังสีปริมาณต่ำ
  3. มะเร็งลำไส้ใหญ่ แนะนำในคนทั่วไป อายุตั้งแต่ 45-50 ปี โดยการคัดกรองมีหลายแบบ เช่น การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ การตรวจเลือดคัดกรองมะเร็ง เป็นต้น
  4. มะเร็งต่อมลูกหมาก แนะนำในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยการคัดกรองคือ การตรวจเลือด ดูค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
  5. มะเร็งตับ ควรคัดกรองในผู้ที่ตับแข็ง (จากสาเหตุต่างๆเช่น แอลกอฮอล์ ไขมันพอกตับไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นต้น) หรือคนที่มีพาหะ ไวรัสตับอักเสบ บี โดย แนะนำในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ชายที่มีความเสี่ยงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยการคัดกรองคือการทำ อัลตราซาวด์ท้องช่วงบน และการตรวจค่ามะเร็งตับ (AFP)

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000 ต่อ 2720

Related Posts

พฤศจิกายน 28, 2022

ตรวจยีนค้นหาความเสี่ยงมะเร็ง เพื่อการป้องกันมะเร็ง และ รักษามะเร็งที่ตรงจุด

โรคมะเร็งหลายชนิด มักมีปัจจัยด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจุบันมีการตรวจยีนเพื่อค้นหาความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง เพื่อการวางแผนการใช้ชีวิต รวมถึงการตรวจในผู้ป่วยมะเร็งเพื่อการวางแนวทางการรักษาที่ตรงจุด ไม่กระทบเซลล์ปรกติในร่างกาย

ธันวาคม 19, 2023

TACE เคมีบำบัดทางหลอดเลือด ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับตรงจุด

โรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้วหรือเป็นระยะท้ายของโรค ขนาดของก้อนมะเร็งเมื่อตรวจพบมักโตเกินกว่าจะผ่าตัดได้

พฤษภาคม 18, 2023

เป็น ”นิ่วในถุงน้ำดี” แต่ไม่รีบรักษา มีความเสี่ยงเป็น “มะเร็ง” มากกว่าคนทั่วไป

อาการปวดท้องบริเวณด้านขวาบน มักเป็นอาการเสี่ยงของโรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งหลายคนเมื่อตรวจเจอแล้ว อาจยังไม่รีบรักษาเพราะคิดว่าอาการปวดที่เป็นยังไม่รุนแรง แต่การเก็บนิ่วในถุงน้ำดีไว้กับตัว นอกจากอาจจะเกิดถุงน้ำดีอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบในอนาคตแล้ว คนที่มีนิ่วในถุงน้ำดีที่ขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งถุงน้ำดี” มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก แต่มีอัตราการการรอดชีวิตต่ำ เนื่องจากในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อตรวจพบมักจะเข้าสู่ระยะ 3 และ 4 ซึ่งมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้ว

ที่ตั้งและการเดินทาง​ ที่ตั้งและการเดินทาง​

 

วิธีการเดินทาง

ค้นหาเราบนแผนที่
 

การติดต่อและนัดหมาย​

[email protected]
 

บริการฉุกเฉิน​

เบอร์โทรติดต่อ : 02-734-0000